เทคนิคการสร้างงานศิลปะ

เทคนิคการสร้างงานศิลปะ

การสร้างสรรค์ทางศิลปะ
หมายถึง การนำเสนอสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ในทางศิลปะสามารถกระทำโดยการนำวิธีจัดรูปแบบองค์ประกอบศิลปะโดยใช้ทัศนะธาตุ เช่น เส้น สี น้ำหนัก พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง เป็นสื่อในการถ่ายทอด และผ่านเทคนิคต่าง ๆ ในทางจิตรกรรมอาจใช้ ดินสอสี สีน้ำมัน สีน้ำ สีอะครายลิค สีฝุ่น หรือเทคนิคผสม เป็นต้น
กระบวนการสร้างสรรค์ สามารถแสดงออกได้หลายวิธีการดังนี้
  1. การสร้างสรรค์แบบรูปธรรม (Realistic)
  2. การสร้างสรรค์กึ่งนามธรรม (Semi Abstract)
  3. การสร้างสรรค์นามธรรม (Abstract) 

ประเภทความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ความคิดสร้างสรรค์ทางความคิด (Creative in thinking) คือ การคิดแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนางาน หรือการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ และเจริญก้าวหน้า รู้จักการศึกษา วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาเพื่อนำมาวางแผนงานต่อไป
2. ความคิดสร้างสรรค์ทางความงาม (Creative in beauty) คือ การสร้างสรรค์ความงามที่แปลกใหม่ให้งดงามและมีคุณค่ายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ในทางปฏิบัติ เช่น การสร้างสรรค์งานศิลปะ การตกแต่งบ้าน ห้องเรียน สำนักงาน ให้มีความแปลกใหม่
3. ความคิดสร้างสรรค์ทางประโยชน์ใช้สอย (Creative in function) คือ การสร้างสรรค์ดัดแปลงสิ่งต่างๆ ให้มีคุณค่าทางประโยชน์ใช้สอย เช่น งานสิ่งประดิษฐ์ งานศิลปะที่นำวัสดุต่างๆ ผลิตผลงานขึ้นให้เกิดประโยชน์ใช้สอย เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์สามารถปลูกฝังได้ หากเราสามารถพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ที่หมั่นศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ต่างๆ อยู่เสมอ โดยเป็นนักอ่าน นักค้นคว้า เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกอบรมและการจัดนิทรรศการต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ซึ่งเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่สำคัญยิ่ง เพราะความรู้รอบตัวและประสบการณ์อย่างกว้างขวางจะเป็นรากฐานในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้เจริญงอกงามตลอดไป 2. เป็นผู้ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นโดยไม่ยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเองมากเกินไป มีความคิดในทางประนีประนอม ยืดหยุ่น และยอมรับความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
3. กล้าคิด กล้าทำอย่างมีกระบวนการ รู้จักการศึกษา วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางแก้ปัญหา โดยมีทางเลือกอย่างหลากหลายเพื่อนำมาวางแผน ปฏิบัติตามแผน และปรับปรุงพัฒนางานให้ดีขึ้น นั่นก็คือ การพัฒนาให้คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น ซึ่งเป็นคุณสมบัติของนักสร้างสรรค์
4. เป็นนักแก้ปัญหาโดยไม่หวั่นหรือท้อแท้ต่อปัญหา อุปสรรคใดๆ มีความยินดีและพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาต่างๆ และคิดค้นวิธีแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย ผู้ที่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจะสามารถนำประสบการณ์มาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็ว
5. ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่แปลกแหวกแนว ไม่เหมือนผู้อื่น แต่ผลงานที่ปรากฏย่อมมีคุณค่า และเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นในเวลาต่อมา

กระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปะ

การสร้างสรรค์งานศิลปะมีกระบวนการหรือขั้นตอนตามลำดับ ดังนี้
1. การรับรู้ (Perception) คือ การที่มนุษย์ใช้ประสาทสัมผัสด้านต่างๆ รับรู้และชื่นชมในธรรมชาติและสภาพแวดล้อมรอบตัว ได้แก่ การสัมผัสรับรู้ด้วยประสาทตาในการมองเห็นความงามของธรรมชาติ เช่น ภาพดอกบัวที่ชูช่ออยู่เหนือน้ำ ภาพดวงอาทิตย์ยามลับขอบฟ้า และการสัมผัสด้วยประสาทหูในการได้ยินเสียงจากธรรมชาติหรือจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เสียงนกร้องอันไพเราะและบริสุทธิ์ เสียงน้ำตกกระทบโขดหิน ภาพและเสียงเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจให้มนุษย์สร้างสรรค์งานศิลปะ เช่น วาดภาพบันทึกความงามและความรู้สึกจากธรรมชาติ แต่งเพลงหรือบรรเลงดนตรีบรรยายความงามของธรรมชาติหรือเลียนเสียงธรรมชาติ
2. ประสบการณ์ (Experience) คือ การที่มนุษย์ผ่านภาวะการรับรู้ ได้เห็น ได้ฟัง และได้ปฏิบัติด้วยตนเองมาแล้วบ่อยครั้งจนสั่งสมเป็นประสบการณ์และความชำนาญ เช่น ศิลปินมีใจรักและชื่นชมความงามของธรรมชาติ โดยเฉพาะดอกไม้นานาพรรณ จึงมักจะเข้าไปสัมผัสชื่นชมกับความงามของธรรมชาติเหล่านั้น และนิยมถ่ายทอดความงามด้วยการวาดภาพ จึงเกิดประสบการณ์และความชำนาญในการวาดภาพธรรมชาติเป็นพิเศษ ศิลปินบางคนมีความเจนจัดในการวาดภาพสีน้ำ นักเรียนอาจวาดภาพจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
3. จินตนาการ (Imagination) คือ การคิดสร้างภาพในจิตใจก่อนที่จะสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานศิลปะโดยมีพื้นฐานมาจากการได้สัมผัส รับรู้ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมจนเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ สั่งสมเป็นประสบการณ์และความชำนาญ ขยายผลเป็นการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยจิตนาการ มิใช่เพียงการถ่ายทอดจากประสบการณ์และจากสิ่งที่ตามองเห็นเท่านั้น แต่เป็นการแสดงออกจากภายในสู่ภายนอก สะท้อนความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระและหลากหลาย ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพการรับรู้ แรงบันดาลใจ และประสบการณ์ของผู้สร้างสรรค์งานที่แตกต่างกัน

ทัศนศิลป์ (อังกฤษ: visual arts) คือ กระบวนการถ่ายทอดผลงานทางศิลปะ การทำงานศิลปะอย่างมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบเป็นขั้นเป็นตอน การสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพสวยงาม มีการปฏิบัติงานตามแผนและมีการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทัศนศิลป์ คือ ศิลปะที่มองเห็นได้ การรับรู้ทางจักษุประสาท โดยการมองเห็น สสาร วัตถุ และสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ รวมถึงมนุษย์ และสัตว์ จะด้วยการหยุดนิ่ง หรือเคลื่อนไหวก็ตาม หรือจะด้วยการปรุงแต่ง หรือไม่ปรุงแต่งก็ตาม ก่อให้เกิดปัจจัยสมมติต่อจิตใจ และอารมณ์ของมนุษย์ อาจจะเป็นไปในทางเดียวกันหรือไม่ก็ตาม มีขั้นตอนและกระบวนการในการถ่ายทอดที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นการแปลความหมายทางศิลปะ ที่แตกต่างกันไปแต่ละมุมมอง ของแต่ละบุคคล ในงานศิลปะชิ้นเดียวกัน ซึ่งไร้ขอบเขตทางจินตนาการ ไม่มีกรอบที่แน่นอน ขึ้นกับอารมณ์ของบุคคลในขณะทัศนศิลป์นั้น

แนวคิดทัศนศิลป์เป็นศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการมอง ได้แก่รูปภาพวิวทิวทัศน์ทั่วไปเป็นสำคัญอันดับต้นๆ รูปภาพคนเหมือน ภาพล้อ ภาพสิ่งของต่างๆก็ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องของทัศนศิลป์ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งถ้ากล่าวว่าทัศนศิลป์เป็นความงามทางศิลปะที่ได้จากการมอง หรือ ทัศนา นั่นเอง 
 1.  ศิลปะ คือ การเลียนแบบ (Art as Imaitation)
           ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีเก่าแก่ มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ โดยมีพื้นฐานความคิดมาจากเพลโต (Plato) และอริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งถือว่าการเลียนแบบวัตถุธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน จัดว่าเป็นสิ่งสวยงามที่สุด ดังนั้นความคิดแก่นของทฤษฎีนี้ การเลียนแบบวัตถุธรรมชาติอะไรบางอย่าง การเลียนแบบที่ปรากฏออกมาก็คือศิลปะ นั่นเอง
2.  ศิลปะ คือ ความพึงพอใจ (Art as Pleasure)
           ทัศนะนี้มองว่า ศิลปินคือบุคคลซึ่งพึงพอใจในความงามและใช้เวลาของเขาสร้างสิ่งสวยงาม ศิลปินจึงพึงพอใจในงานของตัวเอง และยังหวังให้บุคคลอื่นพึงพอใจในผลงานของตนด้วย ดังนั้น ความหมายของศิลปะก็คือ การให้ความพึงพอใจทางสุนทรียะ
3.  ศิลปะคือการเล่น (Art as Play)
           ความคิดที่ว่า ศิลปะคือรูปแบบของการเล่นนี้ เริ่มจากแนวคิดของ คานต์ (Kant) จากนั้นชิลเลอร์ (Schiller) นำมาปฏิบัติ และสเปนเซอร์ (Spencer) นำไปพัฒนาต่อไปจนกลายเป็นทฤษฎีที่เรียกกันว่า "Spieltrieb" หรือเรียกว่า ทฤษฎีแรงกระตุ้นให้เล่น ทั้งนี้ การเล่นนั้นถือว่าเป็นการแสดงออกที่เกิดจากชีวิตจิตใจจริงต่างไปจากกิจกรรมที่เป็นงาน (Work) ของมนุษย์แต่ให้ความพึงพอใจสูง
           สเปนเซอร์ ถือว่า ศิลปะคือการแสดงออกของพลังงานส่วนเกินเช่นเดียวกับการเล่น ศิลปะก็คือการแสดงออกซึ่งเกิดขึ้นเองของพลังที่สำคัญแก่ชีวิต ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์
4.  ศิลปะ คือ อันตรเพทนาการ (Art as Empathy)
           อันตรเพทนาการ หมายถึง ท่าทีของประสาทที่รู้สึกคล้อยตามซึ่งเกิดกับผู้กำลังชมศิลปวัตถุ ทั้งนี้ อันตรเพทนาการเป็นการสร้างจินตนาการของผู้ชมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับศิลปวัตถุ โดยการถ่ายทอดความรู้สึกและการตอบสนองของผู้ชมลงไปในศิลปวัตถุ
5.  ศิลปะ คือ การสื่อสาร (Art as Communication)
           นักปราชญ์จำนวนมากคิดว่า การสื่อสารเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แท้จริงแล้วเป็นหัวใจของศิลปะ ซึ่ง เลโอ ตอลสตอย (Leo Tolstoy) กล่าวไว้ว่า
             "...ศิลปะ คือการสื่อสารของอารมณ์ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่งให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่มีอารมณ์อย่างเดียวกัน โดยการใช้เส้น สี เสียง การเคลื่อนไหว หรือคำพูด อารมณ์ยิ่งรุนแรงเพียงใด ศิลปะก็ยิ่งดีเพียงนั้น..."
6.  ศิลปะ คือ การแสดงออก (Art as Expression)
           ทฤษฎีนี้ถือว่า วัตถุประสงค์ของศิลปะอยู่ที่การแสดงอารมณ์ภายในของมนุษย์ออกมาให้ปรากฏ แม้ว่า ศิลปะเป็นการแสดงออกซึ่งอารมณ์ก็ตาม แต่การแสดงอารมณ์ทุกอย่างก็มิได้เป็นศิลปะไปเสียทั้งหมด
7. ศิลปะ คือ คุณลักษณะของประสบการณ์ (Art as a Quality of Experience)
          จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) กล่าวว่า ศิลปะคือคุณลักษณะซึ่งแหรกอยู่กับประสบการ ซึ่งพบได้ในประสบการณ์ทั่วไปของเรานี่เอง ลักษณะทางสุนทรีมีอยู่ในประสบการณ์ทั่วไปทั้งหมด
          
            การออกแบบ(Design) คือ ศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้ดังนี้
  • ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆ เป็นตัวที่กำหนดอย่างชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน
  • มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้นจะต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ไม่ปวดเมื่อย ถ้าเป็นงานกราฟฟิค เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้
  • มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่า บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้นบางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดี อาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้                                                                                        ดังนั้นนักออกแบบ (Designer) คือ ผู้ที่พยายามค้นหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ หาวิธีแก้ไข หรือหาคำตอบใหม่ๆสำหรับปัญหาต่างๆ
     การออกแบบแบ่งได้เป็น 10 ประเภท คือ
1. การออกแบบสร้างสรรค์
        เป็นการออกแบบเพื่อ นำเสนอความงาม ความพึงพอใจ เน้นความคิดสร้างสรรค์ แปลกๆ ใหม่ๆ ให้เกิดความสะเทือนใจ เร้าใจ ซึ่งการสร้างสรรค์นี้อาจเป็นการพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หรือสร้างขึ้นใหม่ก็ได้งานออกแบบสร้างสรรค์นี้มี 5 ลักษณะ คือ
         งานออกแบบจิตรกรรม (Painting)
 คืองานศิลปะ ด้านการวาดเส้น ระบายสี เพื่อแสดงอารมณ์ และความรู้สึก ในลักษณะ สองมิติ จำเป็นต้องใช้ ความคิดสร้างสรรค์

การสร้างสรรค์กับงานศิลปะ

การสร้างสรรค์ คือ ความสามารถของมนุษย์ที่จะคิดแก้ปัญหาและพัฒนาจนสามารถประดิษฐ์ผลิตผลใหม่ๆ การคิดริเริ่มในสิ่งที่แปลกใหม่ เพื่อสนองความต้องการของตนเองและสังคม ดังนั้น การริเริ่มสร้างสรรค์จึงเป็นการกระทำให้ก้าวหน้าแปลกจากเดิม ดีขึ้น งดงามยิ่งขึ้น หรือมีคุณค่ายิ่งขึ้น
การที่มนุษย์รู้จักการสร้างสรรค์ ทำให้โลกได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ มีความเจริญก้าวหน้าจนถึงปัจจุบัน และเชื่อว่าโลกจะเปลี่ยนไปสู่ความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อไปในอนาคตอย่างไม่หยุดยั้ง ตราบใดที่ยังมีการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องจุดเริ่มต้นของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของมนุษย์ จึงมีการศึกษาและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของคนเราให้เจริญงอกงาม เพื่อเป็นพื้นฐานนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมือง เนื่องจากความคิดสร้างสรรค์สามารถที่จะฝึกฝน ทดลอง ปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์ และนำไปสู่การค้นพบแนวทางใหม่ๆ เพื่อการสร้างงานต่อไป

  ทัศนศิลป์สร้างสรรค์ หมายถึงการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ประเภทกินระวางพื้นที่ด้วยการใช้เทคนิคหรือกลวิธีการสร้างตามกระบวนการสร้างงานทางทัศนศิลป์ผ่านสื่อวัสดุ ซึ่งเราสามารถสัมผัสรับรู้ชื่นชมความงามได้จากการมองเห็นมีทั้งงานลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติ
             เทคนิคการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ มีวิธีการสร้างสรรค์ผลงานแบ่งออกเป็น 6 เทคนิคใหญ่ ๆ ได้แก่ เทคนิคการสร้างสรรค์งาน 

เทคนิคการสร้างสรรค์งานภาพพิมพ์ เทคนิคการสร้างสรรค์งานประติมากรรม เทคนิคการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะสื่อผสม และเทคนิคการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์
                  จิตรกรรม (PAINTING) หมายถึงผลงานศิลปะที่เกิดจากการขีดเขียน ระบายสี โดยถ่ายทอดความงาม อารมณ์ ความรู้สึก และความคิดสร้างสรรค์ลงบนพื้นระนาบรองรับ เช่น กระดาษ แผ่นไม้ ผ้าใบ และฝาผนัง เป็นต้น ลักษณะของจิตรกรรมเป็นงานแบบ 2 มิติ คือ มีความกว้าง และความยาว ส่วนความรู้สึกว่าภาพมีความตื้นลึก ระยะใกล้ไกล นั้นเกิดจากความสามารถของผู้เขียนภาพในการใช้กลวิธีนำทัศนธาตุทางศิลปะและเทคนิคอื่นๆ มาสร้างสรรค์ให้เกิดภาพลวงตามองเห็นเป็นภาพ 3 มิติ เราเรียกผู้สร้างสรรค์งานการเขียนภาพหรือจิตรกรรมว่า “จิตรกร” 
    
1.ภาพเหมือนคน (PORTRAIT) 
เป็นภาพเขียนคนตั้งแต่บริเวณศีรษะถึงเอว มีจุดมุ่งหมายเพื่อบันทึกให้เหมือนบุคคลนั้น ๆ   เช่นภาพ “โมนา ลิซา”  (PORTRAIT OF MONA LISA)  ของ      เลโดนาร์โด ดา วินซี (LEONARDO DA VINCI) และ “ภาพเหมือนของมิลีเอ” (PORTRAIT OF MILLIET) ของวินเซนต์ แวน โกะ (VINCENT VAN GOGH) เป็นต้น 

ทฤษฎีสี

สี(COLOUR) หมายถึง ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็นเป็นสีมีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสงที่อารมณ์และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจากสายตาสายตาจะส่งความรู้สึกไปยังสมองทำให้เกิดความรู้สึก ต่างๆตามอิทธิพลของสี เช่น สดชื่น ร้อน ตื่นเต้น เศร้า สีมีความหมายอย่างมากเพราะศิลปินต้องการใช้สีเป็นสื่อสร้างความประทับใจในผลงานของศิลปะและสะท้อนความประทับใจนั้นให้บังเกิดแก่ผู้ดูมนุษย์เกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวนั้นล้วนแต่มีสีสันแตกต่างกันมากมาย สีเป็นสิ่งที่ควรศึกษาเพื่อประโยชน์กับตนเองและ ผู้สร้างงานจิตรกรรมเพราะ เรื่องราวองสีนั้นมีหลักวิชาเป็นวิทยาศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ ของสีจะบรรลุผลสำเร็จในงานมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจเรื่องสีดีพอสมควร ถ้าได้ศึกษาเรื่องสีดีพอแล้ว งานศิลปะก็จะประสบความสมบูรณ์เป็นอย่างยิ่ง
คำจำกัดความของสี 
1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้
2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน
3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี

คุณลักษณะของสี
สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน
สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู
สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
ประวัติความเป็นมาของสี 
มนุษย์เริ่มมีการใช้สีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีทั้งการเขียนสีลงบนผนังถ้ำ ผนังหิน บนพื้นผิวเครื่องปั้นดินเผา และที่อื่นๆภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ(ROCK PAINTING) เริ่ม ทำตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในทวีปยุโรป โดยคนก่อนสมัยประวัติศาสตร์ในสมัยหินเก่าตอนปลาย ภาพเขียนสีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้พบที่ประเทศฝรั่งเศษและประเทศสเปนในประเทศ ไทย กรมศิลปากรได้สำรวจพบภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำ และ เพิงหินในที่ต่างๆ จะมีอายุระหว่าง 1500-4000 ปี เป็นสมัยหินใหม่และยุคโลหะได้ค้นพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2465 ครั้งแรกพบบนผนังถ้ำในอ่าวพังงา ต่อมาก็ค้นพบอีกซึ่งมีอยู่ทั่วไป เช่น จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี เป็นต้นสีที่เขียนบนผนังถ้ำส่วนใหญ่เป็นสีแดง นอกนั้นจะมีสีส้ม สีเลือดหมู สีเหลือง สีน้ำตาล และสีดำสีบนเครื่องปั้นดินเผา ได้ค้นพบการเขียนลายครั้งแรกที่บ้านเชียงจังหวัดอุดรธานีเมื่อปี พ.ศ.2510 สีที่เขียนเป็นสีแดงเป็นรูปลายก้านขดจิตกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆสมัยสุโขทัยและอยุธยามีหลักฐานว่า ใช้สีในการเขียนภาพหลายสี แต่ก็อยู่ในวงจำกัดเพียง 4 สี คือ สีดำ สีขาว สีดินแดง และสีเหลืองในสมัยโบราณนั้น ช่างเขียนจะเอาวัตถุต่างๆในธรรมชาติมาใช้เป็นสีสำหรับเขียนภาพ เช่น ดินหรือหินขาวใช้ทำสีขาว สีดำก็เอามาจากเขม่าไฟ หรือจากตัวหมึกจีน เป็นชาติแรกที่พยายามค้นคว้าเรื่องสีธรรมชาติได้มากกว่าชาติอื่นๆ คือ ใช้หินนำมาบดเป็นสีต่างๆ สีเหลืองนำมาจากยางไม้ รงหรือรงทอง สีครามก็นำมาจากต้นไม้ส่วนใหญ่แล้วการค้นคว้าเรื่องสีก็เพื่อที่จะนำมาใช้ ย้อมผ้าต่างๆ ไม่นิยมเขียนภาพเพราะจีนมีคติในการเขียนภาพเพียงสีเดียว คือ สีดำโดยใช้หมึกจีนเขียน
สีสามารถแยกออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. สีธรรมชาติ
2. สีที่มนุษย์สร้างขึ้น
สีธรรมชาติ เป็นสีที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เช่น สีของแสงอาทิตย์ สีของท้องฟ้ายามเช้า เย็น สีของรุ้งกินน้ำ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองธรรมชาติ ตลอดจนสีของ ดอกไม้ ต้นไม้ พื้นดิน ท้องฟ้า น้ำทะเล
 สีที่มนุษย์สร้างขึ้น หรือได้สังเคราะห์ขึ้น เช่น สีวิทยาศาสตร์ มนุษย์ได้ทดลองจากแสงต่างๆ เช่น ไฟฟ้า นำมาผสมโดยการทอแสงประสานกัน นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการละคร การจัดฉากเวที โทรทัศน์ การตกแต่งสถานที่

แม่สี (PRIMARIES) 
สีต่างๆนั้นมีอยู่มากมายแหล่งกำเนิดของสีและวิธีการผสมของสีตลอดจนรู้สึกที่มีต่อสีของมนุษย์แต่ละกลุ่มย่อมไม่เหมือนกัน สีต่างๆที่ปรากฎนั้นย่อมเกิดขึ้นจากแม่สีในลักษณะที่แตกต่างกันตามชนิดและประเภทของสีนั้น
แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม
แม่สี มือยู่  2 ชนิด คือ
1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง
สีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี
คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสี
ในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น (ดูเรื่อง แสงสี )
2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวน
ทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้
งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสี
ธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน
วงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
วงจรสี   ( Colour Circle) สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้
เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่
สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว
 สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆ
อีก 6  สี คือ
สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
 วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และ
สีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่าง
รุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส
เท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี

สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา
สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมี
คุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน
แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล
สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติ
ที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนัก
อ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา
แม่สีวัตถุธาตุ (PIGMENTARY RRIMARIES) 
แม่สีวัตถุธาตุนั้นหมายถึง “วัตถุที่มีสีอยู่ในตัว” สามานำมาระบาย ทา ย้อม และผสมได้เพราะมีเนื้อสีและสีเหมือนตัวเอง เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แม่สีของช่างเขียนสีต่างๆจะเกิดขึ้นมาอีกมากมาย ด้วยการผสมของแม่สีซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 สีคือ
1. น้ำเงิน (PRUSSIAN BLUE)
2. แดง (CRIMSON LEKE)
3. เหลือง (GAMBOGE TINT)
สีแดง (CRIMSION  LAKE) สะท้อนรังสีของสีแดงออกมาแล้วดึงดูดเอาสีน้ำเงินกับสีเหลืองซึ่งต่างผสมกันในตัวแล้วกลายเป็นสีเขียว อันเป็นคู่สีของสีแดง
สีเหลือง (GAMBOGE YELLOW) สะท้อนรังสีของสีเหลืองออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีน้ำเงินซึ่งผสมกัน ในตัวแล้วกลายเป็นสีม่วง อันเป็นคู่สีของสีเหลือง
สีน้ำเงิน (PRESSION BLUE) สะท้อนรังสีของสีน้ำเงินออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีเหลืองเข้ามาแล้วผสมกันก็จะกลายเป็นสีส้ม ซึ่งเป็นคู่สีของสีน้ำเงิน
ระบบสี  RGB
              ระบบสี RGB  เป็นระบบสีของแสง ซึ่งเกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม
จะเกิดแถบสีที่เรียกว่า สีรุ้ง ( Spectrum ) ซึ่งแยกสีตามที่สายตามองเห็นได้ 7 สี คือ แดง แสด
เหลือง  เขียว  น้ำเงิน  คราม  ม่วง       ซึ่งเป็นพลังงานอยู่ในรูปของรังสี ที่มีช่วงคลื่นที่สายตา
สามารถมองเห็นได้ แสงสีม่วงมีความถี่คลื่นสูงที่สุด      คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีม่วง
เรียกว่า อุลตราไวโอเลต  ( Ultra Violet ) และคลื่นแสงสีแดง มีความถี่คลื่นต่ำที่สุด คลื่นแสง
ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงเรียกว่า อินฟราเรด ( InfraRed)   คลื่นแสงที่มีความถี่สูงกว่าสีม่วง และต่ำ
กว่าสีแดงนั้น สายตาของมนุษย์ไม่สามารถรับได้  และเมื่อศึกษาดูแล้วแสงสีทั้งหมดเกิดจาก
แสงสี  3  สี คือ สีแดง ( Red )  สีน้ำเงิน ( Blue)และสีเขียว ( Green )ทั้งสามสีถือเป็นแม่สี
ของแสง  เมื่อนำมาฉายรวมกันจะทำให้เกิดสีใหม่ อีก  3  สี คือ  สีแดงมาเจนต้า  สีฟ้าไซแอน
และสีเหลือง  และถ้าฉายแสงสีทั้งหมดรวมกันจะได้แสงสีขาว  จากคุณสมบัติของแสงนี้เรา
ได้นำมาใช้ประโยชน์ทั่วไป  ในการฉายภาพยนตร์    การบันทึกภาพวิดีโอ      ภาพโทรทัศน์
การสร้างภาพเพื่อการนำเสนอทางจอคอมพิวเตอร์ และการจัดแสงสีในการแสดง เป็นต้น
การผสมสี วัตถุธาตุ 
แม่สีวัตถุธาตุ แดง เหลือง และสีน้ำเงิน นั้น ผสมกันแล้วเกิดสีขึ้นอีกหลายสีแม่สีวัตถุธาตุ (PIGMEMPAR Y PRIMARIES) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สีขั้นที่หนึ่ง
ขั้นที่ 1 คือสี
1. น้ำเงิน (PRUSSIAN BLUE)
2. แดง (CRIMSOM LEKE)
3. เหลือง (GAMBOGE TINT)
แม่สีทั้งสามถ้านำมาผสมกัน จะไดัเป็นสีกลาง (NEUTRAL TINT)
สีขั้นที่ 2 (SECONTARY HUES) เกิดจากการนำสีแท้ 2 สีมาผสมกันในปริมาณเท่ากันจะเกิดสีใหม่ขึ้นน้ำเงิน ผสม แดง เป็น ม่วง (VIOLET)
น้ำเงิน ” เหลือง ” เขียว (GREEN)
แดง ” เหลือง ” ส้ม (ORANGE)
สีขั้นที่ 3 (TERTIARY HUES) เกิดจากการผสมสีขั้นที่ 2 กับแม่ (สีขั้นที่ 1) ได้สีเพิ่มขึ้นอีกคือ
เหลือง ผสม เขียว เป็น เขียวอ่อน (YELLOW – GREEN)
น้ำเงิน ” เขียว ” เขียวแก่ (BLUE – GREEN)
น้ำเงิน ” ม่วง ” ม่วงน้ำเงิน (BLUE – VIOLET)
แดง ” ม่วง ” ม่วงแก่ (RED – VIOLET)
แดง ” ส้ม ” แดงส้ม (RED – ORANGE)
เหลือง ” ส้ม ” ส้มเหลือง (YELLOW – ORANGE)
แผนภาพสรุปวงจรสี                                                                                                                               การผสมกันของแม่สีช่างเขียนได้สีอยู่ 3 ขั้น ดังนี้
สีขั้นที่ 1 (Primary Color) ได้แก่                        
สีแดง                           สีเหลือง                สีน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 (Secondary Hues) เป็นการนำเอาแม่สีมาผสมกันในปริมาณเท่า ๆ กัน จะได้สีใหม่อีก 3 สี ดังนี้    
สีแดง ผสมกับ สีเหลือง เป็น   สีส้ม
สีแดง ผสมกับ สีน้ำเงิน เป็น    สีม่วง
สีเหลืองผสมกับ สีน้ำเงิน เป็น สีเขียว
 สีขั้นที่ 3 (Tertiary Hues) เกิดจากนำเอาแม่สีมาผสมกับสีขั้นที่ 2 โดยจะได้สีใหม่เพิ่มอีก 6 สี ดังนี้ 
สีแดง     ผสม สีม่วง    เป็น สีม่วงแดง
สีแดง     ผสม สีส้ม     เป็น สีส้มแดง
สีเหลือง ผสม สีส้ม     เป็น สีส้มเหลือง
สีเหลือง ผสม สีเขียว  เป็น สีเขียวเหลือง
สีน้ำเงิน ผสม สีม่วง   เป็น  สีม่วงน้ำเงิน
สีน้ำเงิน ผสม สีเขียว  เป็น  สีเขียวน้ำเงิน
วรรณะของสี
วรรณะของสี  คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน
2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น
สีเพิ่มน้ำหนักขึ้นด้วยการใช้สีดำผสม ( shade)
 วรรณะสีร้อน                                      วรรณะสีเย็น
เหลือง
ม่วง
เหลืองส้ม
ม่วงน้ำเงิน
ส้ม
น้ำเงิน
แดงส้ม
น้ำเงินเขียว
แดง
เขียว
ม่วงแดง
เขียวเหลือง
  ตารางแสดงความหมายของสี
สี
ชื่อสี
ความหมาย-อารมณ์
Yellow-Greenการเจ็บป่วย – ความอิจฉา – ขี้ขลาด – การแตกแยก
Yellowความสุข – พลังงาน – ความเจริญ – การเรียนรู้ – การสร้าสรรค์
Whiteความบริสุทธิ์ – ความดี – ความดีพร้อม – ความเงียบสงบ – ความยุติธรรม
Redพลัง – อันตราย – สงคราม – อำนาจ
Purpleความหยั่งรู้ – ความทะเยอทะยาน – ความก้าวหน้า – คามสง่างาม – อำนาจ
Pinkเป็นมิตร – ความรัก – ความโรแมนติก – ความเคารพ
Orangeกำลัง – ความมีโชค – พลังชีวิต – การให้กำลังใจ – ความสุข
Light Yellowปัญญา – ความฉลาด
Light Redความรู้สึกดีใจ – เรื่องทางเพศรส – ความรู้สึกของความรัก
Light Purpleเรื่องรักใคร่ – ความสงบ –
Light Greenความกลมกลืน – ความสงบ – สันติภาพ
Light Blueการหยั่งรู้ – โอกาส – ความเข้าใจ – ความอดทน – ความอ่อนโยน
Greenความอุดมสมบูรณ์ – การเติบโต – การกลับมาของมิตรภาพ
Goldสติปัญญา – ความร่ำรวย – ความสว่าง – ความสำเร็จ – โชคลาภ
Dark Yellow:การตักเตือน – การเจ็บป่วย – ความเสื่อม – ความอิจฉา
Dark Redความโกรธ – ความรุนแรง – ความกล้าหาญ – กำลังใจ
Dark Purpleความสูงส่ง – ความปรารถนาอันแรงกล้า – ความหรูหรา
Dark Greenความทะเยอทะยาน – ความโลภ – ความริษยา
Dark Blueความจริง – สัจธรรม – อำนาจ – ความรู้ – ความซื่อสัตย์ – การป้องกัน
Brownความอดทน – ความมั่นคง
Blueสุขภาพ – ความเชื่อถือ – ไหวพริบ – จงรักภักดี – ความเลื่อมใส – ความถูกต้อง
Blackความลึกลับ – ความตาย – อำนาจ – พลัง – ความแรง – สิ่งชั่วร้าย – ความปราณีต

1.Capture inspiration

Screen Shot 2558-06-17 at 2.50.27 PM
แค่คุณเลือกภาพที่ต้องการมาสักหนึ่งภาพ เป็นภาพที่มีโทนสีและคู่สีตามที่คุณต้องการ ก็นำมันมาดูดค่าสีจากโปรแกรมต่างๆ ซึ่งวันนี้เรามาแนะนำ photocopa ซึ่งเป็น webapp ที่ใช้งานง่ายตัวหนึ่ง เพียงเท่านี้คุณจะได้ค่าสีตามที่คุณต้องการ เพื่อนำไปเป็น colour guide สำหรับงานออกแบบของคุณแล้ว

2.ใช้ color wheel

colour-for-design-2
color wheel คือทฤษฎีสีที่เราควรจะเรียนรู้เอาไว้บ้าง ซึ่งสีจะประกอบไปด้วย 3 ขั้นคือ
ขั้นที่ 1 (Primary) –  แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
ขั้นที่ 2 (Secondary) – สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ สีส้ม สีม่วง สีเขียว
ขั้นที่ 3 (Tertiary) – สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอีก 6  สี คือ สีส้มแดง สีม่วงแดง สีเขียวเหลือง สีเขียวน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน สีส้มเหลือง
ต่อมาจะเป็น Color Theory ซึ่งจะประกอบไปด้วย
Analogous Colors – คือการเลือกใช้สีที่อยู่ติดกันใน Color Wheel เช่นสีน้ำเงินกับสีม่วง
Complementary Colors – การเลือกใช้สีที่อยู่ตรงข้ามกันใน Color Wheel เช่นสีส้มกับสีน้ำเงิน
Triadic Colors – การเลือกสีโดยใช้สามเหลี่ยมด้านเท่ามาทาบลงบน Color Wheel จะได้สีทั้งหมด 3 สี เช่น สีเขียว สีส้มและสีม่วง

3. ออกแบบโดยมีพื้นที่ว่าง

colour-for-design-3
เทคนิคการออกแบบโดยมีพื้นที่ว่าง ใช้สัดส่วน  60% เป็นสีที่โดดเด่น 30% เป็นสีรอง 10% เป็นสีที่ถูกเน้น อย่างในตัวอย่างสีเด่นคือสีดำ สีรองคือเขียว และสีที่เน้นคือแดงนั่นเอง

4. บันทึกสีที่ชอบ

colour-for-design-4
ในแต่ละวันคุณคงได้พบเจอกับงานต่างๆ มากมาย ลอง save as ภาพที่คุณชอบเก็บเอาไว้ใช้งานในภายหลัง จะทำให้การทำงานเป็นเรื่องง่ายขึ้น หากคุณมีสีที่ชอบเอาไว้เป็น colour guide

5. หา Pantone ไว้ใช้งานสักชุด

colour-for-design-5
สังเกตุใหมว่าทำไม Designer บางคนต้องมี Pantone ติดตัวไว้ใช้งาน เพราะบางทีมองสีจากหน้าจอ มันอาจจะไม่ชัดเจนเท่ามองจาก Pantone ยังไงละ โดยเฉพาะงานพิมพ์ ที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง ซึ่ง Pantone จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คุณได้ค่าสีที่แม่นยำออกมา

6. หาสีจากธรรมชาติรอบตัวเรา

colour-for-design-6
บางครั้งสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจได้มากก็คือดวงตาของเรา ธรรมชาติคือการผสมสีที่ไม่มีที่สิ้นสุด ในแต่ละวันคุณคงพบเจอสีในธรรมชาติมากมายจนนับไม่ถ้วน และในแต่ละสถานที่คุณก็จะได้พบเจอสีที่ไม่เหมือนกันเลย

7. เลือกใช้สีแค่ 2 – 3 สี

colour-for-design-7
สีที่เยอะเกินไป อาจจะทำให้งานของคุณดูแย่ลงก็เป็นได้ วิธีที่คนส่วนมากแนะนำกันคือ เลือกใช้สีสัก 2 – 3 สีในงานออกแบบนั้นๆ ซึ่งวิธีเลือกสีลองใช้ color wheel เลือกดูได้เลย รับรองว่างานของคุณจะออกมาดูสะอาด สำหรับพื้นที่ว่างลองเพิ่ม  textures ลองไปสักนิด จะได้ออกมาไม่เรียบจนเกินไป

8. เลือกสีหลัก แล้วหาสีที่เข้าคู่

colour-for-design-8
ลองเลือกคิดว่างานที่คุณกำลังออกแบบเป็นงานอะไร เป็นกีฬา, แฟชั่น, ความงาม, หรือธุรกิจ เพราะอารมณ์ของแต่ละงานก็เลือกใช้สีที่ไม่เหมือนกัน อยากจะให้อารมณ์งานออกมาอ่อนนุ่มหรือรุนแรง แล้วลองใส่รายละเอียดเอาไปอีกนิดเช่น ฉันต้องการความโรแมนติกสีม่วง หรือ ฉันต้องการสีชมพูน่ารักๆ

9. Pinterest

colour-for-design-9

                                      https://www.grappik.com/wp-content/uploads/2015/06/colour-for-design-9.png                                                                                                        Pinterest คือแหล่งรวบรวมงานออกแบบมากมาย ลองเข้าไปค้นหาสีที่คุณต้องการ ซึ่งมีให้เลือกมากมาย ดูทั้งวันก็ไม่หมดอย่างแน่นอน Pinterest

     

 จิตรกรรม (Painting) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ เป็นงานศิลปะที่มี มิติ เป็นรูปแบบไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน 

ประเภทของจิตรกรรม 
1. การวาดเส้น (DRAWING)   เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือ เส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียว แต่การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด 
เส้น (line) หมายถึงจุดหลาย ๆ จุดที่เคลื่อนที่ต่อเนื่องไปในที่ว่างเปล่าจากทิศทางการเคลื่อนที่ต่าง ๆ  กัน เส้นถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอันดับแรก ของการจัดภาพและออกแบบงานทัศนศิลป์  นอกจากนั้นเส้นที่มีทิศทางต่างๆ กันยังมีอิทธิพลต่อความรู้สึกในการมองได้ เช่น
  

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjLPmlv6a2a4k74RW2BgZUoCwIpI2JMftkHQDS8bVuQ6JJmQp2F332R7V8Q-ugUKeXvQw72n32Z89Gg1nuz8iacMBCG2cHFKfAor7VHbeYmM-4IwKU9lKThz7debGAhNLcsR9YT3l5Bn-pC/s1600/pic_line01.jpg
2. การระบายสี (PAINTING) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาดเส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น 

ความหมายของการวาดภาพ
                การวาดภาพ  คือ การถ่ายทอดอารมณ์ส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ ออกมาเป็นลวดลายบนวัตถุชนิดต่าง ๆ  เช่นกระดาษอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ผ้า,ตึกราบ้านช่อง และอีกมากมายที่เราเห็นเป็นภาพไม่ว่าจะเป็นภาพการ์ตูน ภาพคนเหมือนภาพที่เป็นลายเส้น เป็นต้น

ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. ภาพทิวทัศน์ (LANDSCAPE PAINTING) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์แบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape ) ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape) ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)  
http://1.bp.blogspot.com
2. ภาพคน (FIGURE PAINTING) เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์แบบเต็มตัว โดยไม่เน้นแสดงความเหมือนของใบหน้า
http://1.bp.blogspot.com/-                                                                                                     ภาพสัตว์ ( ANIMALS FIGURE PAINTING) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ในลักษณะต่าง ๆ

ภาพเสมือนจริง

1. คือภาพที่สร้างจากโปรแกรมในคอมพิวเตอร์ออกมาเสมือนจริง เป็นภาพ 3 มิติ

2. สามารถนำไปใช้งานได้หลายรูปแบบมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การสื่อสาร การโฆษณา หรือการทำตัวอย่าง

2.1. นำไปฝึกฝนการเรียนรู้การแพทย์ โยไม่ต้องอยู่กับผู้ป่าวยจริง

2.2. สร้างรูปแบบจำลอง เช่น โครงการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

2.3. ประชาสัมพันธ์ต่างๆ เช่น เชิญชวน หรือ การค้าขาย

3. ข้อดี

3.1. เราสามารถเห็นภาพเสมือนจริงได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปพื้นที่จริง เช่น การวางแปนบ้าน หรือการดูพื้นที่ต่างๆ

4. ข้อเสีย

4.1. เราไม่สามารถรู้รายละเอียดเล็กๆจากภาพเสมือจริงได้ และอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น

เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน


 ระบบเสมือนจริง หรือเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality หรือ VR) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อ จำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งจากสภาพแวดล้อมจริง และจากในจินตนาการ ขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยไม่ได้จำลองเพียงภาพและเสียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประสาทสัมผัสด้านอื่นด้วย ด้วยการใส่อุปกรณ์นำเข้าเช่น ถุงมือ เมาส์ เพื่อการรับรู้ถึงแรงป้อนกลับจากการสัมผัสสิ่งต่างๆ ในโลกเสมือนจริงที่สร้างขึ้นโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น หากสัมผัสเก้าอี้ จะต้องรับรู้ถึงมวลความแข็งของเก้าอี้ และอุณหภูมิของวัสดุเป็นต้น เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนนั้น สามารถแยกออกจากเทคโนโลยีประเภทอื่นที่คล้ายกันได้อย่างชัดเจนด้วยความจดจ่อทางร่างกาย (Physical Immersion) กล่าวคือสำหรับการใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน(VR) ผู้ใช้จะรู้สึกตัดขาดจากโลกจริง และ ความรู้สึกถึงความมีอยู่ (Psychological Presence) โดยที่ความจดจ่อทางร่างกายอยู่ในระดับระบบสัมผัสเต็มรูปแบบ  (Fully Immersive System)  ผู้ใช้รู้สึกตัดขาดจากโลกจริงอย่างสมบูรณ์แบบโดยสภาพแวดล้อมเสมือนจริง กล่าวคือผู้ใช้จะรู้สึกเหมือนอยู่ในโลกจริงแต่ ในความเป็นจริงแล้วอยู่ในโลกที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน ในขณะที่เทคโนโลยีอื่น เช่น AR หรือ WoW  นั้นผู้ใช้ยังคงสัมผัสอยู่กับโลกจริง ระดับความจดจ่อทางร่างกายยังคงรับรู้ถึง ความมีอยู่ ในโลกจริง กล่าวคือเพียงแค่สัมผัสได้ถึงความเสมือนจริงซึ่งอาจจะเป็นรับรู้ด้วยการมอง หรือการได้ยิน แต่ยังไม่ถึงขั้นตัดขาดโลกจริง ซึ่งหากแบ่งประเภทของความเป็นจริงเสมือนออกตามวิธีการติดต่อกับผู้ใช้งาน สามารถแบ่งออกเป็น ภาพเหมือน (ภาษาอังกฤษ: portrait) เป็นจิตรกรรม, ภาพถ่าย, ประติมากรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นรูปของผู้เป็นแบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นหน้าและการแสดงออกทางความรู้สึกของผู้เป็นแบบ จุดประสงค์ในการสร้างภาพเหมือนก็เพื่อแสดงความละม้าย, บุคลิก, หรือแม้แต่อารมณ์ของผู้เป็นแบบ ฉะนั้นภาพถ่ายที่เป็นภาพเหมือนจึงมิใช่ภาพถ่ายแบบชั่ววินาที แต่เป็นภาพถ่ายที่ช่างถ่ายจะพยายามจัดท่าหรือองค์ประกอบของภาพที่ให้ผู้เป็นแบบนั่งนิ่ง ภาพเหมือนมักจะแสดงผู้เป็นแบบมองตรงมายังจิตรกรหรือช่างภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ดูรูปในภายหลัง

5ประเภท ดังนี้

·        Desktop VR or Window on World Systems (WoW) : เป็นการใช้จอภาพธรรมดา(จอคอมพิวเตอร์ทั่วไป) ในการแสดงภาพเสมือนจริง

·        Video Mapping : เป็นการนำวีดีโอมาเป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล และใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลกราฟิกแบบ WoW ซึ่งมีทั้งแบบสองมิติและสามมิติ ทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นตัวเอง และการเปลี่ยนแปลงของตนเองจากจอภาพได้

·        Immersive Systems : เป็นเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนสำหรับส่วนบุคคล โดยใช้จอภาพสวมศีรษะ ในการแสดงภาพและเสียงของโลกเสมือน

·        Telepresence : เป็นระบบเสมือนจริงที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณระยะไกลไว้ที่อุปกรณ์หนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นหุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น  เพื่อให้เชื่อมต่อการใช้งานเข้ากับผู้ใช้

·        Augmented/Mixed Reality Systems : การรวมกันของ Telepresence กับ Virtual Reality Systems โดยใช้ Telepresence เป็นตัวนำเข้าข้อมูล และ Virtual Reality Systems ในการแสดงผลภาพเสมือนจริงให้กับผู้ใช้ได้เห็น เช่นการแสดงภาพเสมือนจริงสมองของคนไข้ให้กับ ศัลยแพทย์ชม


นำเสนองาน 3D Model เป็นภาพเสมือนจริงด้วย GstarCAD  


การเขียนแบบส่วนใหญ่งานจะจบออกมาเป็นแบบงานผลิต แต่ยังมีอีกส่วนที่ใช้สำหรับงานนำเสนอ ซึ่งปกติแล้วงานนำเสนอนี้จะเป็นหน้าที่สำหรับ โปรแกรม Present ต่างๆ หรือไม่ก็โปรแกรม 3D ระดับสูงไปเลย แต่จริงๆ แล้ว GstarCAD เอง ก็มีคำสั่งช่วยในการนำเสนอให้วัตถุแสดงผลภาพออกมาให้สมจริงเหมือนกัน มาดูกันเลยดีกว่าว่าใช้งานยังไง                                                                                         1.เปิดไฟล์งาน 3D ที่ต้องการจะนำเสนอ แล้วเลือกคำสั่งที่เมนู View 


1

2.เลือกคำสั่ง View > 3D Views > SW Isometric (สามารถเลือกเป็น Isometric รูปแบบใดก็ได้)
2

3.เมื่อเลือกตามข้อ 1 และ 2 แล้วจะได้ชิ้นงานออกมาตามนี้
3

4.จากนั้นให้เลือกคำสั่งที่เมนู View > Orbit > Constrained Orbit
4
5.Cursor จะเปลี่ยนเป็นรูปเครื่องหมาย Orbit   5
ตอนนี้ผู้ใช้งานจะสามารถเปลี่ยนมุมมองได้โดยการคลิกซ้ายค้างแล้วขยับเม้าส์ เมื่อปรับได้ตำแหน่งที่ต้องการให้คลิกขวา เลือกคำสั่ง Continuous Orbit
6
6.คลิกเมาส์ ซ้ายค้างไว้ แล้วขยับไปในทิศทางที่ต้องการ โปรแกรมจะหมุน วัตถุไปในทิศทางที่เรากำหนด ต่อเนื่อง จนกว่าเราจะคกดปุ่ม ESC ด้วยคำสั่งนี้ ก็จะสามารถพรีเซ็นต์ 

ภาพเหมือน

ภาพเหมือน (ภาษาอังกฤษ: portrait) เป็นจิตรกรรม, ภาพถ่าย, ประติมากรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นรูปของผู้เป็นแบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นหน้าและการแสดงออกทางความรู้สึกของผู้เป็นแบบ จุดประสงค์ในการสร้างภาพเหมือนก็เพื่อแสดงความละม้าย, บุคลิก, หรือแม้แต่อารมณ์ของผู้เป็นแบบ ฉะนั้นภาพถ่ายที่เป็นภาพเหมือนจึงมิใช่ภาพถ่ายแบบชั่ววินาที แต่เป็นภาพถ่ายที่ช่างถ่ายจะพยายามจัดท่าหรือองค์ประกอบของภาพที่ให้ผู้เป็นแบบนั่งนิ่ง ภาพเหมือนมักจะแสดงผู้เป็นแบบมองตรงมายังจิตรกรหรือช่างภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ดูรูปในภายหลัง
 

ที่มาของภาพเหมือน

ภาพเหมือน ในสมัยแรกที่พบเป็นภาพเขียนสำหรับปิดศพที่รู้จักกันว่า “เฟยุมมัมมี่” (Fayum mummy) ในประเทศอียิปต์ที่ถูกรักษาไว้เป็นอย่างดีเพราะความแห้งของอากาศในทะเลทราย “เฟยุมมัมมี่” เป็นภาพเขีเมื่อจิตรกรวาดภาพเหมือนของตนเองภาพนี้ก็จะเรียกว่า “ภาพเหมือนตนเอง” (self-portrait) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในสมัยปลายยุคกลาง การสร้างภาพเหมือนตนเองอาจจะเริ่มมาตั้งแต่สมัย อียิปต์โบราณเมื่อประติมากรแบ็คของฟาโรห์อเคนาเตนแกะรูปของตนเองและภรรยาเมื่อ หรืออาจจะเริ่มมาตั้งแต่สมัยที่มนุษย์ยังอยู่ในถ้ำก็ได้ตามหลักฐานที่ปัจจุบันสูญหายไป
 “ภาพถ่ายภาพเหมือน” เป็นที่นิยมกันทั่วไปในโลก บางครั้งลูกค้าก็จะต้องการภาพเหมือนของตนเองและครอบครัว หรือภาพเหมือนในโอกาสพิเศษเช่นงานแต่งงานหรืองานจบปริญญา ภาพถ่ายภาพเหมือนเริ่มพร้อมกับการเริ่มต้นการถ่ายภาพ ความต้องการเป็นที่นิยมกันมากเพราะผู้ต้องการสามารถเป็นเจ้าของภาพเหมือนได้โดยไม่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก กิจการร้านถ่ายรูปก็รุ่งเรืองตามไปด้วยบางร้านถ่ายถึง 500 เพลทต่อวัน ลักษณะการถ่ายภาพเหมือนสมัยต้นๆ นี้ต้องเปิดหน้ากล้องถึง 30 วินาทีจึงจะถ่ายได้ และจะใช้ลักษณะคล้าย “วาด” (painterly) ผู้เป็นแบบมักจะนั่งหน้าฉากเกลี้ยงๆ แสงเป็นแสงอ่อนเหนือแบบและแสงสะท้อนจากกระจก
เมื่อวิธีการถ่ายภาพวิวัฒนาการขึ้นช่างภาพก็ออกถ่ายภาพเหมือนนอกสถานที่เช่นในสนามรบ หรือ สถานที่ไกลจากผู้คน เช่นงานของวิลเลียม ชู (William Shew) โรเจอร์ เฟ็นตัน (Roger Fenton) และ แม็ทธิว เบรดี (Mathew Brady) ซึ่งเป็นผู้สร้างทฤษฏีการถ่ายภาพเหมือน

ภาพวาดคนเหมือนตนเอง

ยนจากสมัยจักรวรรดิโรมันอย่างเดียวที่พบนอกไปจากจิตรกรรมฝาผนัง
ในสมัยโรมันศิลปะภาพเหมือนนิยมกันในการทำประติมากรรมซึ่งผู้เป็นแบบต้องการให้เหมือนตนเองจริงๆ ถึงแม้ว่าบางครั้งผู้เป็นแบบอาจจะมีรูปร่างลักษณะที่ไม่เรียกว่าสวย ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 4 ภาพเหมือนเริ่มละทิ้งความเป็นจริงมาหาความเป็นจินตนิยมเป็นภาพเหมือนที่ผู้เป็นแบบต้องการให้จิตรกรสร้างภาพที่ “ควรจะ” มีหน้าตาอย่างที่ต้องการ ซึ่งจะเห็นได้จากประติมากรรมเหมือนของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1[1] และจักรพรรดิทีโอโดเซียสที่ 1[2] ในยุโรปการเขียนภาพเหมือนแบบเหมือนจริงมานิยมกันอีกครั้งในสมัยปลายยุคกลาง ในบริเวณเบอร์กันดีในประเทศฝรั่งเศส
งานภาพเหมือนที่มีชื่อที่สุดที่เป็นที่รู้จักันทั่วโลกคือภาพ “โมนาลิซา” โดย เลโอนาร์โด ดา วินชีเป็นภาพสตรีที่ไม่ทราบชื่อที่มีรอยยิ้มปริศนา ภาพเหมือนที่เก่าที่สุดเท่าที่ทราบพบเมื่อปี ค.ศ. 2006 โดย เจอราร์ด โจดีย์ นักโทษท้องถิ่นในถ้ำวิลโอเนอร์ไม่ใกลจากอังโจเลม ที่เชื่อว่ามีอายุถึง 27,000 ปี[1]

ภาพถ่ายภาพเหมือน


“ภาพถ่ายภาพเหมือน” เป็นที่นิยมกันทั่วไปในโลก บางครั้งลูกค้าก็จะต้องการภาพเหมือนของตนเองและครอบครัว หรือภาพเหมือนในโอกาสพิเศษเช่นงานแต่งงานหรืองานจบปริญญา ภาพถ่ายภาพเหมือนเริ่มพร้อมกับการเริ่มต้นการถ่ายภาพ ความต้องการเป็นที่นิยมกันมากเพราะผู้ต้องการสามารถเป็นเจ้าของภาพเหมือนได้โดยไม่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก กิจการร้านถ่ายรูปก็รุ่งเรืองตามไปด้วยบางร้านถ่ายถึง 500 เพลทต่อวัน ลักษณะการถ่ายภาพเหมือนสมัยต้นๆ นี้ต้องเปิดหน้ากล้องถึง 30 วินาทีจึงจะถ่ายได้ และจะใช้ลักษณะคล้าย “วาด” (painterly) ผู้เป็นแบบมักจะนั่งหน้าฉากเกลี้ยงๆ แสงเป็นแสงอ่อนเหนือแบบและแสงสะท้อนจากกระจก
เมื่อวิธีการถ่ายภาพวิวัฒนาการขึ้นช่างภาพก็ออกถ่ายภาพเหมือนนอกสถานที่เช่นในสนามรบ หรือ สถานที่ไกลจากผู้คน เช่นงานของวิลเลียม ชู (William Shew) โรเจอร์ เฟ็นตัน (Roger Fenton) และ แม็ทธิว เบรดี (Mathew Brady) ซึ่งเป็นผู้สร้างทฤษฏีการถ่ายภาพเหมือน 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผลงานของศิลปิน


https://petmaya.com/wp-content/uploads/2015/05/color-pencil-drawing-05.jpg

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ผลงานของศิลปิน

https://laccreatividad.files.wordpress.com/2013/07/tumblr_mi45u5htu31s2g72yo1_500.jpg


คุณสมบัติของสีน้ำ


  สีน้ำเป็นผลผลิตใหม่สำหรับสังคมที่ส่งเสริมให้การพิมพ์และวาดเขียนมีคุณค่าสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสมบูรณ์ทางด้านบรรยากาศและบริเวณว่าง ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลายกับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำให้สีหม่นขาดคุณสมบัติโปร่งใส และควรรักษาให้พู่กันสะอาดอยู่เสมอเมื่อต้องการเปลี่ยนสีใหม่ สีน้ำมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เนื้อที่บดแล้วอย่างละเอียด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบิค ซึ่งสกัดมาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ละลายน้ำง่ายและเกาะติดกระดาษแน่น ทั้งยังมีลักษณะโปร่งใสอีกด้วย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การใช้สีน้ำ

https://www.burystedmundsartgallery.org/wp-content/uploads/2017/07/watercolor-to-beautiful.jpg



เทคนิคการใช้สีน้ำให้สวย ให้ออกมาดูดีจนงดงาม


การวาดรูปโดยใช้เทคนิคสีน้ำนั้น จะให้ความรู้สึกละมุนและมีการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อให้ภาพมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น แต่การวาดรูปโดยใช้สีน้ำนั้นไม่ง่ายเลย เพราะถ้าเราระบายช้าเกินไปสีจะไม่ค่อยกลมกลืนกันสักเท่าไหร่นัก แต่หากเราระบายเร็วเกินไป สีก็อาจจะผสมกันเละเทะกลายเป็นสีคล้ำๆ ดำๆ หรือสีเน่านั่นเอง แถมการกะน้ำหนักก็ยากกว่าสีอื่นอีกด้วย ทำให้มือใหม่ทั้งหลายอาจเกิดความท้อแท้ได้ง่าย ด้วยเหตุนี้เองวันนี้เราจึงจะมาแนะนำเทคนิคการวาดรูปโดยใช้เทคนิคสีน้ำให้สวยงามกันค่ะ เมื่อรู้เทคนิคเหล่านี้แล้วการใช้สีน้ำก็จะเป็นเรื่องง่ายมากขึ้นอย่างแน่นอน

การระบายแบบเปียกบนแห้ง

Wet into Dry เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำในแบบนำสีผสมน้ำให้เปียกชุ่ม เสร็จแล้วก็นำไประบายลงในกระดาษแห้ง โดยไม่ต้องระบายน้ำลงบนกระดาษให้เปียกก่อนเมื่อระบายอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดสีเรียบเนียน
เหมาะสำหรับ   การระบายรูปทรงเรขาคณิต หรือวัตถุสิ่งของที่มีพื้นผิวเรียบ เช่น พื้น ผนัง อาคาร ต่างๆ เป็นต้น

การระบายแบบแห้งบนแห้ง




Dry on Dry เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำในรูปแบบสีข้นหนืด มีการผสมน้ำเล็กน้อย และนำไประบายลงบนกระดาษที่แห้งสนิท ไม่เปียกน้ำเหมาะสำหรับ การแสดงให้เห็นถึงลักษณะผิวของวัตถุที่มีความหยาบ ขรุขระ แข็งกระด้าง เช่น ผิวของเปลือกไม้ ผิวของดิน หิน ผนังต่างๆ รวมทั้งยังนำไปใช้ในการเก็บรายละเอียดของภาพขั้นตอนสุดท้าย เทคนิคนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความ
ชำนาญในการใช้พู่กันของผู้วาดอีกด้วย

การระบายแบบเปียกบนเปียก

Wet into Wet เป็นเทคนิคการระบายสีน้ำแบบเหลวเปียกชุ่มลงบนกระดาษเปียกชุ่ม สีที่ลงไปนั้นด้วยความที่มันเปียกทั้งตัวสี และทั้งกระดาษ จึงทำให้สีซึมผสมเข้าหากัน ให้ความรู้สึกเปียกชุ่มน้ำตลอดเวลาเหมาะสำหรับ การระบายภาพ ท้องฟ้า ผืนน้ำ ภูเขา แนวป่าในระยะไกล

การระบายแบบใช้เทคนิคต่างๆ

Texture Surface เป็นเทคนิคที่ต้องมีการเตรียมพื้นผิวของกระดาษด้วยการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาช่วย ก่อนการลงสี และหลังการระบายสี เช่น การหยดเทียนไข เพื่อสร้างรอยบนกระดาษก่อนจะระบายสีทับลงไป การขูดขีด ด้วยของมีคมการนำแอลกอฮอล์มาหยดลงบนสีที่ยังไม่แห้ง การทำทิชชู่มาซับลงบนสีเพื่อทำลวดลายต่างๆ เป็นต้น
และนี่คือเทคนิคแบบง่ายๆ ที่สามารถนำไปฝึกฝนด้วยตนเองได้ อย่าลืมว่าแม้เราจะรู้ถึงเทคนิคต่างๆ อย่างมากมาย แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการหมั่นฝึกฝนอย่างเป็นประจำ หากเราไม่ท้อถอย เราย่อมจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกลับคืนมาอย่างแน่นอน









รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
https://orig00.deviantart.net/93f9/f/2014/258/a/8/untitled_by_leonidafremov-d7zcdpz.jpg   

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น